Profile

E-mail : bboat.321@gmail.com , Facebook : www.facebook.com/boatcool

15 มกราคม 2554

วงดนตรีไทย

ประเภทวงดนตรีไทย
         การแบ่งประเภทของวงดนตรีไทย จำแนกตามลักษณะการประสมวงได้ 3 ประเภท คือ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์และวงมโหรี วงดนตรีไทยแต่ละวงจะใช้บรรเลงในโอกาสที่แตกต่างกัน

1.วงเครื่องสาย
          ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภท เครื่องสาย อันได้แก่เครื่องสี (ซอด้วงและซออู้) และเครื่องดีด (จะเข้) เป็นหลัก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า (ขลุ่ย) เป็นส่วนประกอบ ใช้โทนรำมะนาบรรเลงจังหวะหน้าทับ และใช้ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ร่วมบรรเลงประกอบจังหวะ วงเครื่องสายเป็นวงดนตรีประเภทที่ใช้บรรเลงขับกล่อมเพื่อความบันเทิงเริง รมย์ เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร นิยมใช้บรรเลงในงานมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น และมิได้ใช้บรรเลงสำหรับประกอบการแสดงนาฏศิลป์

1. วงเครื่องสายไทย
          วงเครื่องสายไทย เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับการบรรเลงในอาคาร ในลักษณะของการขับกล่อมที่เป็นพิธีมงคล เช่น พิธีมงคลสมรสและงานเลี้ยงสังสรรค์ เป็นต้น วงเครื่องสายไทยนี้มักจะเรียกกันสั้นๆ ว่า “วงเครื่องสาย” มีอยู่ 2 ขนาด คือ วงเครื่องสายวงเล็กและวงเครื่องสายเครื่องคู่
 

         1.1 วงเครื่องสายวงเล็ก ประกอบด้วย เครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายและเป่าอย่างละหนึ่งเครื่อง ดังนี้
         จะเข้ 1 ตัว , ซอด้วง 1 คัน  , ซออู้ 1 คัน , ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา , โทน-รำมะนา 1 คู่ , ฉิ่ง 1 คู่ , ฉาบ 1 คู่ , กรับ 1 คู่  และโหม่ง 1 ใบ
รูปที่ 1  วงเครื่องสายวงเล็ก
        

         1.2 วงเครื่องสายเครื่องคู่ วงเครื่องสายเครื่องคู่ประกอบด้วย เครื่องดนตรีที่อยู่ในวงเครื่องสายวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มจำนวนของเครื่องดนตรีประเภททำทำนองจากเครื่องมือละหนึ่งเครื่องเป็น สองเครื่องหรือเป็นคู่ ดังต่อไปนี้
         จะเข้ 2 ตัว , ซอด้วง 2 คัน , ซออู้ 2 คัน , ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา , ขลุ่ยหลิบ  1 เลา , ฉิ่ง 1 คู่ , ฉาบ 1 คู่ , กรับ 1 คู่ , โหม่ง  1 ใบ และโทน-รำมะนา 1 คู่

 รูปที่ 2  เครื่องสายเครื่องคู่


 2. วงเครื่องสายผสม
 
        เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีอย่างที่สังกัดในวงเครื่องสายไทย เพียงแต่เพิ่มเอาเครื่องดนตรีที่อยู่นอกเหนือจากวงเครื่องสายไทย หรืออาจจะเป็นเครื่องดนตรีพื้นเมือง หรือเครื่องดนตรีของต่างชาติก็ได้ มาบรรเลงร่วมด้วย เช่น ไวโอลิน ออร์แกน ขิม หีบเพลงชัก เปียโน ระนาด แคน (หรือแม้แต่ซอสามสายอันเป็นเครื่องสีก็ตาม) เป็นต้น ซึ่งเครื่องดนตรีที่นำมาผสมนั้นต้องคำนึงถึงคุณลักษณะของเสียงด้วยว่ามีความ กลมกลืนมากน้อยเพียงใด 
 
        การเรียกชื่อวงจะเรียกตามตามเครื่องดนตรีที่นำมาผสม เช่น ถ้านำขิมมาบรรเลงร่วมก็จะเรียกว่า วงเครื่องสายผสมขิม ถ้าหากนำออร์แกนมาบรรเลงร่วม ก็เรียกว่า วงเครื่องสายผสมออร์แกน ฯลฯ สำหรับโอกาสในการบรรเลงนั้น มีลักษณะเช่นเดียวกับวงเครื่องสายไทยทุกประการ

        ในบางครั้งวงเครื่องสายประเภทนี้จะ นำเอาจะเข้ซึ่งมีเสียงดังออกเสียด้วย เนื่องจากเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงร่วมนั้นมีเสียงเบากว่ามาก เช่น ในวงเครื่องสายผสมขิมหรือไวโอลินบางวง เป็นต้น
 
3. วงเครื่องสายปี่ชวา
 
        ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเป็นหลัก และนำเอาปี่ชวามาบรรเลงแทนขลุ่ยเพียงออ คงไว้แต่เพียงขลุ่ยหลิบซึ่งมีเสียงสูง และเปลี่ยนมาใช้กลองแขกบรรเลงจังหวะหน้าทับแทน วงเครื่องสายปี่ชวามี 2 ขนาด คือ วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กและวงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่
 

        3.1 วงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้
        ปี่ชวา 1 เลา , ขลุ่ยหลิบ  1 เลา , ซอด้วง 1 คัน , ซออู้ 1 คัน , จะเข้ 1 ตัว , กลองแขก 1 คู่ , ฉิ่ง 1 คู่ , ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

รูปที่ 3  ตำแหน่งของเครื่อดนตรีต่างๆในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็ก

        3.2 วงเครื่องสายปี่ชวาวงใหญ่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายปี่ชวาวงเล็กเป็นหลัก โดยเพิ่มเครื่องดนตรีในตระกูลเครื่องสายให้เป็น 2 หรือคู่ ดังนี้
        ปี่ชวา 1 เลา , ขลุ่ยหลิบ  1 เลา , ซอด้วง 2 คัน , ซออู้ 2 คัน , จะเข้ 2 ตัว , กลองแขก 1 คู่ , ฉิ่ง 1 คู่ , ฉาบ กรับ โหม่ง ตามความเหมาะสม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น